การเพาะกล้าผักคะน้า

1. เพาะในถาดพลาสติกเพาะกล้า  

  1. ให้เตรียมดินละเอียดพร้อมปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักในอัตรา 2:1 และใส่ดินผสมดังกล่าวลงในถาดพลาสติกเพาะกล้า  

คะน้า ผักธรรมดาที่ไม่ธรรมดา


ผักคะน้า ไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่รู้จัก เพราะเป็นผักที่มีขายอยู่ทั่วไป หาซื้อง่าย นำไปประกอบอาหารได้หลายชนิด และยังเป็นส่วนประกอบ ใส่ลงในก๋วยเตี๋ยวหลายอย่างได้อร่อย เช่น ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า

การเตรียมดินปลูกผักคะน้า


ดินที่เหมาะสำหรับปลูกผักคะน้าควรมีค่าพีเอชดินระหว่าง 5.5-6.8 และหากดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินในอัตราที่สอดคล้องกับสภาพของดินในแต่ละที่

อย.เผย “ผักคะน้า”เสี่ยงมีสารพิษตกค้างมากสุด


อย. แจงเฝ้าระวังตรวจสอบคุณภาพผักผลไม้ที่จำหน่ายในท้องตลาด และมีมาตรการทางกฎหมายคุมเข้มสารตกค้างในผักผลไม้อย่างเข้มงวด พร้อมแนะผู้บริโภคล้างผักให้สะอาดก่อนนำมารับประทาน พบคะน้าเสี่ยงมากที่สุด 

วันนี้ (9 ส.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ภญ.ศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า ตามที่ปรากฏเป็นข่าวพบสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐานในผักสดที่วางจำหน่ายในตลาดสด และซูเปอร์มาร์เก็ตนั้น ขอชี้แจงว่า อย. มิได้นิ่งนอนใจ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ได้จัดเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการเคลื่อนที่ (Mobile Unit : MU) สำนักอาหาร ลงพื้นที่ เพื่อดำเนินการเฝ้าระวังตรวจสอบคุณภาพผักผลไม้ที่จำหน่ายในท้องตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ชุดทดสอบเบื้องต้น (Test Kit) 

ผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างผักผลไม้ทางด้านเคมีและจุลินทรีย์ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งเก็บตัวอย่าง ในระหว่างวันที่ 26 พฤษภาคม – 25 มิถุนายน 2555 ทั้งหมด 1,987 ตัวอย่าง มาตรวจวิเคราะห์ พบจำนวนตัวอย่างไม่ผ่านเกณฑ์ 69 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 3.47 แบ่งเป็นตัวอย่างผักผลไม้ที่สุ่มเก็บ จากตลาดสดที่ไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 60 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 3.02 โดยตัวอย่างผักสดที่สุ่มตรวจที่มีสารพิษตกค้างมากที่สุด ได้แก่ 1. คะน้า 2. กะหล่ำดอก 3. ต้นหอม และตัวอย่างที่สุ่มเก็บจากซูเปอร์มาร์เก็ต ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 9 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 0.45 โดยตัวอย่างผักสดที่สุ่มตรวจที่มีสารพิษตกค้างมากที่สุด ได้แก่ 1. คะน้า 2. มะเขือพวง 3. พริกไทย ซึ่ง อย. ได้ดำเนินการตักเตือนผู้จำหน่ายผักผลไม้ที่ตรวจพบสารพิษตกค้างทุกราย และหากสุ่มตรวจพบสารพิษตกค้างในสถานที่เดิม อย. จะส่งตัวอย่างผักผลไม้ให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อตรวจสอบหาสารที่เป็นอันตรายอย่างละเอียด ทั้งนี้ หากผลการตรวจวิเคราะห์พบสารพิษตกค้างจากวัตถุอันตรายทางการเกษตร เช่น คาร์โบฟูรานเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนดตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง จะจัดเป็นการกระทำฝ่าฝืนพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท 

รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวต่อไปว่า ขอให้ผู้บริโภคล้างผักผลไม้ก่อนนำมาบริโภคทุกครั้ง โดยใช้โซเดียม ไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดา) และล้างด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง หรือเปิดน้ำให้ไหลผ่านผักผลไม้ และใช้มือทำความสะอาดนาน 2 นาที หรือใช้ด่างทับทิม แช่ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที รวมทั้งเลือกบริโภคผักผลไม้ตามฤดูกาล หรือผักพื้นบ้าน เพราะปลูกได้ง่ายไม่ค่อยมีแมลงรบกวน เพื่อหลีกเลี่ยงสารเคมีตกค้างในผักผลไม้..

 แหล่งอ้างอิง : เดลินิวส์

ประโยชน์ของผักคะน้า 30 ข้อควรรู้

ประโยชน์ของผักคะน้า 30 ข้อควรรู้ 

  1. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆในร่างกายได้ 

คะน้าฮ่องกง



คะนาฮองกง Chinese broccoli, White flower Broccoli, Broccoloni ; Brassica oleracea L. var. alboglabra Bailey. วงศ Brassicaceae (Cruciferae) จัดอยู่ในกลุ่มพืชเมืองหนาว ตระกูลกะหลํ่า การเจริญเติบ โตเปนพืชฤดูเดยีวจาํนวนโครโมโซมn=9ตองการสภาพปลูกที่มีอุณหภูมิต่ำ

การปลูกผักคะน้า


การปลูกคะน้า

            ผักคะน้า มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชียและปลูกกันมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย คะน้าเป็นผักที่นิยมปลูกและบริโภคกันมา โดยปลูกเพื่อบริโภคส่วนของใบและลำต้น

ผักคะน้าเงินล้าน



คุณโยธิน ปลูกผักคะน้าที่ กาญจนบุรี นำPro-1 และ แร่ เทคโตมิค ไปใช้จนได้ผลผลิตสูงทำรายได้ถึง 7-8แสนบาทต่อครั้ง

ประโยชน์ของผักคะน้า

สรรพคุณ และ ประโยชน์ของผักคะน้า

สรรพคุณและประโยชน์ของผักคะน้าผักใบเขียวนั้นจัดว่าเป็นอีกหนึ่งพืชสมุนไพรที่ช่วยรักษาโรคได้ด้วยนะ

สายพันธ์ุ ผักคะน้าที่นิยมปลูก

ผักคะน้าที่นิยมปลูกในประเทศไทยมี 3 พันธุ์ คือ



พันธุ์ใบกลม ผักคะน้าพันธุ์นี้มีลักษณะใบกว้างใหญ่ ปล้องสั้น ปลายใบมน ผิวใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ขนาดโดยส่วนใหญ่ลำต้นสูงเฉลี่ย 33.40 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่าสูงกลางของลำต้นส่วนที่ใหญ่ที่สุด

ผักคะน้า : Brassica alboglabra

ผักคะน้า

ชื่อสามัญ : Kale
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica albroglabra 
ชื่ออื่น : จีนกวางตุ้งเรียกว่า ไก๋หลาน จีนแต้จิ๋วเรียกว่า กำหนำ 
ฤดูกาล : ผักคะน้าสามารถเจริญเตอบโตได้ทั้งปี และเจริญเติบโตได้ทุกสภาพอากาศ 
แหล่งปลูก : ปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย ผักคะน้า